ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อหน่วยงาน
รพ.สต.ทับทิมสยาม 06 (PCU หลัก) โดยมีศูนย์สุขภาพชุมชนเดี่ยว
สังกัดเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอขุขันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 13 ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ระยะห่างจากตัวอำเภอ ประมาณ 25 กิโลเมตร
ระยะห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 75 กิโลเมตร
1.
จำนวนหมู่บ้าน หลังคาเรือน และประชากร
ในเขตรับผิดชอบ
รพ.สต.ทับทิมสยาม 06 รับผิดชอบจำนวน 4 หมู่บ้าน
409 หลังคาเรือน และประชากรรวม 2,363 คน แยกเป็นเพศชาย 1,209 คน และหญิง 1,154 คน ดังรายละเอียดในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 จำนวนหมู่บ้าน หลังคาเรือน
และประชากร ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ทับทิมสยาม 06
ลำดับที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
หมู่ที่
|
หลังคาเรือน
(หลัง)
|
ประชากร (คน)
|
||
ชาย
|
หญิง
|
รวม
|
||||
โนนสมบูรณ์
|
6
|
105
|
347
|
343
|
690
|
|
2
|
ทับทิมสยาม 06
|
13
|
169
|
468
|
430
|
898
|
3
|
หนองอาเสร
|
16
|
46
|
136
|
129
|
265
|
4
|
เนินเสรี
|
18
|
85
|
258
|
252
|
510
|
รวม
|
409
|
1,209
|
1,154
|
2,363
|
ที่มา
: ข้อมูลประชากรจากโปรแกรม jHCIS ข้อมูล
ณ วันที่ 31 มกราคม
2559
2. อาณาเขต
ทิศใต้จด
ประเทศกัมพูชา
ทิศเหนือจด บ้านปรือใหญ่ ตำบลปรือใหญ่
ทิศตะวันออกจด
บ้านกันทรอม ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ
ทิศตะวันตกจด
บ้านโคกตาล ตำบลโคกตาล อำเภอภูสิงห์
3. พื้นที่
ตำบลปรือใหญ่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 83.7 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 51,350 ไร่
4. ภูมิประเทศ
ตำบลปรือใหญ่มีพื้นที่ตั้งอยู่ใกล้แนวเทือกเขาพนมดงรัก
ทิศใต้ของตำบลเป็นเป็นพื้นที่สูงมีภูเขาตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก
ทำให้สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสลับที่ดอนลาดเอียงไปทางเหนือ
สำหรับตอนกลางและทิศเหนือของตำบลเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การปลูกข้าว
มีแหล่งน้ำธรรมชาติสำหรับใช้อุปโภค บริโภคภายในตำบลกระจายตามหมู่บ้านต่างๆ เช่น ห้วยศาลา
หนองปรือใหญ่ หนองโพธิ์ อ่างเก็บน้ำบ้านเนินแสง อ่างเก็บน้ำบ้านแสนสุข หนองปรือ
เป็นต้น แหล่งน้ำธรรมชาติส่วนใหญ่จะแห้งและตื้นเขินในหน้าแล้ง
พื้นที่บางส่วนของตำบลได้ประโยชน์จากคลองส่งน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยศาลาสามารถทำนาได้ปีละ
2 ครั้ง แต่ในช่วงฤดูฝนมักประสบปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร
สภาพดินของตำบลปรือใหญ่เป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี มีต้นจานหรือต้นทองกวาว
ต้นมะพร้าว ต้นสบู่ดำ ต้นดอกรักขึ้นทั่วไปในพื้นที่ สภาพพื้นที่เอื้อต่อการทำนา
ปลูกมัน ยูคาลิปตัส และปอ เป็นต้น
5. ภูมิอากาศ
ตำบลปรือใหญ่เป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
จากสภาพภูมิอากาศที่มีเทือกเขาพนมดงรักทำให้บริเวณจังหวัดศรีสะเกษ
(รวมถึงตำบลปรือใหญ่) เป็นเขตเงาฝนมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าภาคอีสานตอนบน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือน มีนาคม ถึงพฤษภาคม
อากาศจะร้อนแห้งแล้งมาก
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือน มิถุนายน ถึงตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน ถึงกุมภาพันธ์
6. การปกครอง
ตำบลปรือใหญ่
จัดการบริหารในระบบองค์การบริหารส่วนตำบล
มีเขตการปกครองและพัฒนาในพื้นที่ 20 หมู่บ้าน จำนวนหลังคาเรือน 2,307 หลัง ประชากรทั้งหมด
12,710 คน มีกำนัน 1 คน สารวัตรกำนัน 2
คน แพทย์ประจำตำบล 1 คน ผู้ใหญ่บ้าน 20
คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 40 คน
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หมู่บ้านละ 2 คน จำนวน 40
คน
7.
ภาษา
ด้านภาษา ภาษาพูดส่วนใหญ่ภาษาเขมร รองลงมาเป็นภาษาส่วย
และลาว ตามลำดับ
8. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
ตำบลปรือใหญ่มีผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97.2 ผู้นับถือศาสนาคริสต์และอิสลาม
ร้อยละ 2.8 มีจำนวนวัดทั้งสิ้น 2 แห่ง และสำนักสงฆ์จำนวน 1 แห่ง พระ 15 รูป สามเณร 8 รูป
ดังรายละเอียดในตารางที่ 2
ตารางที่
2
จำนวนวัด สำนักสงฆ์ พระ และสามเณร ในเขต
รพ.สต.ทับทิมสยาม 06
ชื่อวัด
|
ที่ตั้ง
|
พระ (รูป)
|
สามเณร (รูป)
|
รวม (รูป)
|
หมายเหตุ
|
วัดบ้านโนนสมบูรณ์
|
ม.6
|
6
|
2
|
8
|
|
วัดถ้ำสระพงษ์
|
ม.13
|
6
|
3
|
9
|
|
สำนักสงฆ์เนินเสรี
|
ม.18
|
3
|
3
|
6
|
|
รวม
|
15
|
8
|
23
|
ที่มา
: สำรวจ
วันที่ 31 มกราคม
2559
9.
การศึกษา
ตำบลปรือใหญ่ มี 20 หมู่บ้าน ได้จัดการศึกษาออกเป็น 2 ระบบ
คือระบบการศึกษาในโรงเรียน และระบบการศึกษานอกโรงเรียน
อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 มีโรงเรียนในเขตพื้นที่ตำบล
ปรือใหญ่ จำนวน 7 โรงเรียน
จำนวนนักเรียน 2,360 คน ดังรายละเอียดในตารางที่ 3
ตารางที่
3 จำนวนโรงเรียน และนักเรียน ในเขต
รพ.สต.ทับทิมสยาม 06
ลำดับที่
|
ชื่อโรงเรียน
|
จำนวนนักเรียน (คน)
|
||||
ก่อน
ประถมศึกษา
|
ประถมศึกษา
|
มัธยมศึกษาตอนต้น
|
มัธยมศึกษาตอนปลาย
|
รวม
|
||
1
|
บ้านโนนสมบูรณ์
|
32
|
163
|
-
|
-
|
195
|
2
|
ทับทิมสยาม
06
|
30
|
132
|
-
|
-
|
162
|
รวม
|
62
|
295
|
-
|
-
|
357
|
ที่มา : สำรวจ วันที่ 31 มกราคม 2559
10. งานประเพณีและวัฒนธรรมที่สำคัญในพื้นที่
ตำบลปรือใหญ่มีการดำเนินชีวิตแบบเกษตรกรรม
ประเพณีจึงเกี่ยวข้องกับการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประเพณีสำคัญได้แก่
การลงแขกเกี่ยวข้าว ทำนา ลงแขกปลูกบ้าน นอกจากนี้ยังมีประเพณีและวัฒนธรรมด้านศาสนาที่สำคัญ
เช่น การบวชนาค การแห่เทียนเข้าพรรษา การทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
การทอดผ้าป่า การทอดกฐิน วันสงกรานต์ ลอยกระทง การทำบุญวันออกพรรษา
และประเพณีที่สำคัญประการหนึ่งคือ ประเพณีแซนโฎนตา หรือทำบุญข้าวสารทในเดือนสิบ
11. เศรษฐกิจ
11.1
การประกอบอาชีพ
อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม (ทำนา ทำไร่) คิดเป็นร้อยละ 92.5 ของครัวเรือนทั้งหมด อาชีพสำรอง คือ อาชีพรับจ้าง และค้าขาย ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่
มีการเลี้ยงสัตว์ จำพวกโค กระบือ ประมาณ ร้อยละ 20 ของครัวเรือนทั้งหมด
การเลี้ยงโคกระบือนี้จะเลี้ยงเพื่อใช้งาน หรือจำหน่ายและบริโภค
ลักษณะการเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้จะผูกไว้ในฤดูเก็บเกี่ยว
แต่หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวแล้วจะปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ตาม ทุ่งหญ้า ไร่ นา
บางครัวเรือนเลี้ยงสุกร (ส่วนน้อย) ส่วนเป็ด ไก่มีการเลี้ยงเกือบ ทุกครัวเรือน แต่เลี้ยงไม่มาก คิดเฉลี่ยเป็นตัว
เฉลี่ยครัวเรือนละ 3-5 ตัว เลี้ยงเพื่อจำหน่ายและบริโภค
ลักษณะการเลี้ยงสัตว์ประเภทนี้จะปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ส่วนการเลี้ยงปลา
มีเลี้ยงบ้างเป็นบางครัวเรือนแต่ไม่มากนัก
11.2
อุตสาหกรรม
ในส่วนการประกอบอาชีพอุตสาหกรรม ส่วนมากแล้วจะประกอบอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือน
คือ โรงสีข้าว ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับผลผลิตทางด้านการเกษตรของประชากรในพื้นที่
โรงสีข้าวส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกระจายอยู่ตามพื้นที่หมู่บ้านต่างๆ
เพื่อให้บริการแก่ชาวบ้านในหมู่บ้านและเพื่อนบ้านใกล้เคียง
การเก็บค่าบริการนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าของโรงสีข้าวที่จะกำหนดในอัตราที่เหมาะสม
สำหรับรำข้าวบางครัวเรือนจะขายหรือไม่ก็เก็บไว้เลี้ยงสัตว์ ในครัวเรือน
11.3
ด้านแรงงาน
อาชีพหลักของราษฎรในพื้นที่ตำบลปรือใหญ่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
เมื่อเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยว ราษฎรจำนวนหนึ่งจะมีการออกไปทำงานต่างจังหวัดเฉลี่ย
ร้อยละ 20.45
ของราษฎรทั้งหมด ช่วงที่มีการออกไปทำงานต่างจังหวัดอยู่ระหว่างเดือน
กุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ยังมีราษฎรที่อายุ 15 ปีขึ้นไปว่างงานจำนวน
153 คน คิดเป็นร้อยละ 6.67 ของราษฎรทั้งหมด
อัตราค่าจ้างในพื้นที่ตำบลปรือใหญ่ ค่าแรง/ คน / วัน โดยเฉลี่ย 15-200 บาท
12.
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
12.1
ที่นอนยัดนุ่น สถานที่ผลิต บ้านหลัก
รายได้เฉลี่ย 25,000
บาท/ปี
12.2
หัตถกรรมรากไม้ สถานที่ผลิต
บ้านโนนสมบูรณ์ รายได้เฉลี่ย 20,000 บาท/ปี
12.3
ทอผ้าลายขิด สถานที่ผลิต บ้านนาจะเรีย รายได้เฉลี่ย
23,000
บาท/ปี
12.4
หัตถกรรมสานจากไม้ไผ่ สถานที่ผลิต
บ้านนาจะเรีย รายได้เฉลี่ย 20,000 บาท/ปี
12.5 แปรรูปมะม่วงส่งต่างประเทศ สถานที่ผลิต บ้านปรือคัน หมู่ที่ 5 รายได้เฉลี่ย 900,000 บาท/ปี
12.5 แปรรูปมะม่วงส่งต่างประเทศ สถานที่ผลิต บ้านปรือคัน หมู่ที่ 5 รายได้เฉลี่ย 900,000 บาท/ปี
12.6 ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว สถานที่ผลิต บ้านปรือคัน หมู่ที่ 5 รายได้เฉลี่ย 200,000 บาท/ปี
13.
โบราณสถานและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ
13.1
น้ำตกวัดถ้ำสระพงษ์
13.2
สถานีเพาะพันธุ์สัตว์ป่าจุฬาภรณ์
13.3
ศูนย์เพาะพันธุ์กล้วยไม้นาจะเรีย
13.4
ศูนย์เพาะพันธุ์กล้วยไม้นาตราว
13.5
อ่างเก็บน้ำบ้านนาจะเรีย
13.6
อ่างเก็บน้ำซำกุ้ง
13.7 ทะเลหมอกผามรกต
13.7 ทะเลหมอกผามรกต
14.
สถานบริการด้านสุขภาพในตำบล
14.1
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปรือคัน
14.2
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปรือใหญ่
14.3
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทับทิมสยาม
06
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น